ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ปฏิทินงาน

โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม

โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร                                                            

             โรคข้อเสื่อมเป็นโรค ที่พบได้บ่อยที่สุด ในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย มักพบได้ในคนมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่บุปลายกระดูกข้อ เป็นเหตุให้ผิวของกระดูกอ่อนเปลี่ยนสภาพจากผิวเรียบมันกลายเป็นผิวขรุขระ เป็นผลให้ข้อมีการติดขัดเวลาเคลื่อนไหวของ เกิดความเจ็บปวด

โรคข้อเสื่อมจะเกิดกับส่วนใดของร่างกายได้บ้างข้อเสื่อมเกิดได้เกือบทุกแห่ง มักพบกับข้อใหญ่ ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวมากหรือข้อที่รับน้ำหนักมาก เช่น ข้อเข่าข้อสะโพกข้อเท้าข้อกระดูกสันหลังและกระดูกคอ

ปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับการเป็นโรคนี้ ได้แก่การบาดเจ็บ, อายุที่มากขึ้น, คนอ้วน  น้ำหนักเกิน น้ำหนักที่มาก จะทำให้ข้อรับน้ำหนักมาก ทำให้ข้อนั้นๆ เสื่อมเร็วขึ้น, ผู้ที่มีโรคกระดูกพรุน, ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินเป็นประจำ, เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย เนื่องจากความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย, กรรมพันธุ์, ยาหรือสารเคมีบางอย่าง

อาการ อาการจะค่อยๆเริ่มเป็นทีละน้อย มีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อ บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาพักการใช้ข้อนานๆ เมื่อเป็นมากขึ้น กระดูกผิวข้อสึกหรอมากขึ้น จะทำให้ปวดมากเวลาใช้งานข้อ อาจจะพบว่ามีการผิดรูปของข้อ หรือมีการบวมอักเสบ มีน้ำในข้อ และอาจไม่สามารถใช้งานข้อนั้นๆได้

การรักษา
               การเสื่อมของข้อเป็นกลไกที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติซึ่งอาจไม่ได้ต่างอะไรจากการที่เรามีผิวหนังที่เหี่ยวย่นเมื่ออายุมากขึ้นจึงกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีอาการที่ผิดไปจากปกติ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆแต่สิ่งที่ควรทำก็คือ การบำรุงรักษาข้อที่เสื่อมให้สามารถอยู่กับตัวเราได้อย่างไม่สร้างปัญหาให้ยาวนานที่สุด การรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีจุดหมายคือ มุ่งลดอาการปวดและอาการอักเสบ ในขณะเดียวกันก็พยายามทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเป็นไปตามปกติ โดยป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปร่างของข้อ ทำให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหรือทำการงานได้ตามปกติ
วิธีการรักษาขึ้นกับอายุและความรุนแรงของโรค เช่น การรักษาด้วยยาต้านการอักเสบยาเสริมกระดูกอ่อน การฉีดน้ำไขข้อเทียม การทำกายภาพบำบัด การรักษาด้วยการผ่าตัดการส่องกล้องล้างผิวข้อ การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน การผ่าตัดแก้ไขแนวรับน้ำหนักข้อการผ่าตัดใส่ข้อเทียม

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

1. ต้องลดน้ำหนักตัว เพราะการลดน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมจะลดแรง
   กระทำที่เข่าได้ถึง 3 กิโลกรัม

2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะ
   วางราบกับพื้นพอดี ไม่ควรนั่งพับเพียบ หลีกเลี่ยงการ
   นั่งขัดสมาธิ การนั่งคุกเข่า นั่งยอง หรือนั่งราบกับพื้นเนื่องจากจะ
   ทำให้ผิวเข่าเสียดสีกันมากขึ้น

3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่ง

4. ควรนอนบนเตียง ไม่ควรนอนราบกับพื้น เพราะต้องงอเข่าเวลา
   จะนอนหรือจะลุกขึ้น

5. หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงบันได

6. หลีกเลี่ยงการยืน หรือการนั่งในท่าเดียวนาน ๆ

7. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ใส่รองเท้าส้นเตี้ย พื้นรองเท้านุ่ม
   ขนาดพอเหมาะ

8. ควรใช้ไม้เท้าเมื่อยืนหรือเดิน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดเข่ามาก
   หรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูป

9. บริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยให้การ
   เคลื่อนไหวของข้อเข่าดีขึ้น และสามารถทรงตัวได้ดีเวลายืนหรือ
   เดิน

ท่าบริหารเข่า

การบริหารกล้ามเนื้อต้นขา ให้นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมาและเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาโดยการกระดกข้อเท้า ให้นับ 1-10 และ ทำข้างละ 10 ครั้ง ทำวันละ 3 เวลา ถ้าหากแข็งแรงขึ้นอาจจะถ่วงน้ำหนักที่ปลายเท้า

บทความ


                      โรคข้อเสื่อม
 
 
 images 2
                 Tennis elbow

 

 

E-SERVICES

edoc

eleave

absence record

HURIS

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page