วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรค ปากแหว่งเพดานโหว่ กันค่ะ
ร.ศ.ดร. เบญจมาศ พระธานี นักแก้ไขการพูด กล่าวถึง อาการ ปากแหว่งเพดานโหว่ โดยสรุปได้ ดังนี้
1. ในประเทศไทย มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ประมาณ 1.01 – 2.49 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน
3. อาการปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่มีโอกาสเกิดซ้ำได้ในลูกคนต่อไปสูงประมาณ 3-15 % ขึ้นอยู่กับชนิดของปากแหว่งเพดานโหว่
4. ถ้ามีเพดานโหว่ โอกาสลูกคนต่อไปจะมีเพดานโหว่จะสูงกว่าเด็กทั่วไป โดยเฉพาะทารกเพศชาย มีโอกาสที่จะเกิดเพดานโหว่สูงกว่าทารกเพศหญิง
เพดานโหว่ คือ การที่มีช่องเปิดระหว่างเพดานปากและฐานจมูก เกิดจากการที่ขากรรไกรบนของทารกไม่สามารถปิดได้สนิทในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดช่องว่าง อาการเพดานโหว่จะมีความรุนแรงกว่าอาการปากแหว่ง
ปัจจัยภายนอก
เชื่อว่าปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นไปได้สูงถึงประมาณ 80-88% โดยปัจจัยภายนอกที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่ ได้แก่
1. การเจ็บป่วยของแม่เมื่อตั้งครรภ์
2. ภาวะขาดสารอาหารของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์
3. แม่สูบบุหรี่จัด
4. แม่ได้รับยา หรือสารบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชักเช่น ฟีไนโตอิน (Phenytoin), ไดแลนติน (Dilantin) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) สารพิษ สารเคมี การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การขาดกรดโฟลิคในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น
ปัจจัยภายใน
เกิดจากกรรมพันธุ์ พบว่า อาการนี้มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้ประมาณ 12-20% ของผู้ป่วยทั้งหมด
บทความแนะนำ ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม
1. ปัญหาการดูดกลืนอาหาร เพราะจะทำให้นมไหลย้อนขึ้นไปที่จมูกผ่านช่องเพดานโหว่ เกิดการระคายเคืองจมูก ยิ่งทานนมผสมจะมีอาการมากกว่าทานนมแม่ ทำให้ทารกกระสับกระส่าย ร้องไห้ กวนบ่อย และไม่อยากดูดนม
2. ปัญหาการเจริญเติบโตช้า เพราะมีความลำบากในการดูดกลืนอาหาร จึงส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้าได้
3. ปัญหาทางเดินหายใจ การดูดกลืนนม หรืออาหารที่ยากลำบาก อาจทำให้สำลัก ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
4. ปัญหาด้านการพูด ทำให้พูดช้า พูดออกเสียงไม่ชัด อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อยได้
5. ปัญหาฟันผิดปกติ ความผิดปกติของโครงสร้างริมฝีปากเพดาน และจมูก ทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างของฟัน และการสบกันของฟัน เช่น ฟันล่างครอบฟันบน ฟันบน และฟันล่างไม่สบกัน ฟันขาดหายไป ฟันขึ้นผิดที่ และผิดตำแหน่ง เป็นต้น
อ่าน การป้องกันอาการปากแหว่งเพดานโหว่ คลิกหน้าถัดไป >>>
คำแนะนำของ ร.ศ. ดร.เบญจมาศ พระธานี นักแก้ไขการพูด ถึงการป้องกันอาการปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
1. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
2. การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกร ทุกครั้ง
3. ออกกำลังกาย
4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. การลดความเครียด
6. รับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ตามที่คุณหมอแนะนำ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ และเน้นอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น บรอคโคลี เมล็ดธัญพืช ตับ เป็นต้น
7. คุณแม่ควรได้รับวิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์ หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อให้การเกิดการสร้างอวัยวะของโครงสร้างเพดานในตัวอ่อนของทารกในครรภ์ได้สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้