Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

พันธกิจ (Our mission)

วิสัยทัศน์ :
               มีความโดดเด่นด้านวิชาการ และบริการระดับตติยภูมิในด้านโรคเรื้อรัง และปัจฉิมวัยภายในปี พ.ศ. 2563

พันธกิจ : 

1. พัฒนาระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและมีธรรมาภิบาล

2. ผลิตแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้คู่คุณธรรม ใฝ่รู้และมีเจตคติที่ดี

3. สร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ด้านปัจฉิมวัย ที่มีคุณค่าในระดับประเทศ

4. ให้การบริบาลทางอายุรกรรม โดยเฉพาะด้านปัจฉิมวัยที่มีประสิทธิภาพ และ สร้างความพึงพอใจสูงสุดต่อผู้รับบริการ

5. ให้บริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ในระดับชาติ

6. สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการเรียนการสอน การวิจัย บริการทางวิชาการ และบริบาลทางการแพทย์ในระดับชาติและนานาชาติ

7. สร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อบุคลากรในภาควิชา 


อัตลักษณ์ และค่านิยม :

 “MED มศว”

1. Morality & Unity

2. Edutainment

3. Development to Excellence

4. มุ่งมั่น

5. ศึกษา

6. วิจัย 

 

แนวทางในการดำเนินงานภาควิชาอายุรศาสตร์ :

             การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและสร้างเสริมความสมานฉันท์ในภาควิชาโดย  สร้างความรู้สึกการมีส่วนร่วมของคณาจารย์และผู้ร่วมงานอื่นๆ, บริหารด้วยธรรมาภิบาลและความยุติธรรม, พัฒนาด้วยการนำระบบพุทธิปัญญา & Collective intelligence เข้ามาปรับ ใช้, จัดให้มีการอบรมเวชจริยศาสตร์ประจำปีแก่แพทย์ใช้ทุน, จัดให้มีการพบปะกันระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันและคณาจารย์


ปฏิรูปการบริหารงานและการดำเนินงานของภาควิชาอายุรศาสตร์ :

1. กำหนดยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาภาควิชาอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมแปลงเป็นนโยบายในทางปฏิบัติใน 6 ประเด็น ตามอัตลักษณ์ของภาควิชา อันได้แก่ “MED มศว” โดยจะกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาภาควิชาที่ยั่งยืนและสอดรับกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและการสาธารณสุขระดับประเทศ

2. ปรับระบบงานของภาควิชาให้ก้าวเข้าสู่การเป็น Digital department ด้วยเทคโนโลยี IT

3. ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ทันสมัย ใช้เทคโนโลยี IT เข้ามาช่วยให้มากขึ้น

4. De- centralize งาน โดยส่งเสริมให้แต่ละสาขาวิชาได้กำหนดทิศทางการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางวิชาการและบริการของตนขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งและก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ภาควิชาอายุรศาสตร์ต่อไป ในส่วนของการประเมินผล จะกำหนดให้มี KPI ของแต่ละสาขาวิชาเพื่อการพัฒนาต่อไป

5. กระตุ้นและส่งเสริมให้แต่ละสาขาวิชาที่มีความพร้อม ดำเนินการเปิดการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางต่อยอด (Fellowship) ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า

6. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของบุคลากรจากสหสาขาวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล

7. ปรับรูปแบบระบบงานบริการทางคลินิก เช่น พัฒนาระบบ ward attending ให้มุ่งเน้นงานด้านการพัฒนาคุณภาพบริการ โดยเฉพาะในด้านของ Patient safety และการเรียนการสอนให้มากขึ้น เปิด OPD Med 2 (Premium clinic) ทั้งในและนอกเวลาราชการ เปิดระบบอาจารย์แพทย์ สาย ข ซึ่งจะเป็นอาจารย์ที่เน้นงานบริการทางคลินิกเป็นหลัก ไม่ต้องทำงานวิจัย นอกจากนี้ จะพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย sepsis, palliative care และการใช้เครื่องช่วยหายใจให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

8. ส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยทางคลินิกที่เป็นรูปธรรมของแต่ละสาขาวิชา ทั้งงานวิจัยแบบทั่วไปและงานวิจัยแบบ R2R โดยจัดตั้งระบบพี่เลี้ยงวิจัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านงานวิจัยจากภายนอก เข้ามาช่วยจัดตั้งและพัฒนาระบบสู่ความยั่งยืน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้คณาจารย์สามารถดำเนินงานวิจัยใหม่ๆที่มีคุณภาพให้แก่ภาควิชาได้ต่อไป

9. ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับองค์กรหรือเครือข่ายภายนอก ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ 

10. จัดทำตำราและหนังสือ หรือ mobile applications ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์การประเมินทางวิชาการให้แก่ภาควิชาอายุรศาสตร์ นอกจากนี้ จะมีการจัดทำและพัฒนาสื่อให้ความรู้ด้านต่างๆของอายุรศาสตร์ในระดับประชาชนเช่น การจัดทำหนังสือสำหรับประชาชนทั่วไป การทำสื่อ VDO online เป็นต้น

11. ปรับเปลี่ยนการจัดประชุมวิชาการของภาควิชาอายุรศาสตร์ ให้เป็นการประชุมแบบพหุภาคี และสร้างเครือข่ายทางอายุรศาสตร์ในพื้นที่นครนายกและพื้นที่ใกล้เคียง

12. จะจัดให้มีการประชุมภาควิชากับผู้บริหารระดับสูงของคณะแพทยศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยในวาระอันเหมาะสม

13. จัดให้มีการมอบรางวัลดีเด่นในด้านต่างๆให้แก่ แพทย์ใช้ทุนอายุรศาสตร์

14. สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ให้เกิดเป็นสังคมแห่งปัญญา

15. พัฒนาคุณภาพการศึกษาของแพทย์ใช้ทุนภาควิชาอายุรศาสตร์ให้ดีขึ้น และจัดให้มีการแข่งขันตอบปัญหาทางอายุรศาสตร์ มศว ประจำปีในแต่ละปีการศึกษา พร้อมรับมอบรางวัลจากภาควิชา

16. พัฒนาและปรับปรุงห้องสมุดใหม่ให้แก่ แพทย์ใช้ทุนอายุรศาสตร์

17. พัฒนาและมุ่งเน้นงานบริการที่สอดรับกับความต้องการด้านสาธารณสุขของประเทศ อันได้แก่ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มปัจฉิมวัย โดยจะพัฒนาทั้งด้านวิชาการและบริการ ทั้งแบบระยะสั้น เช่น การศึกษาวิจัย การเปิดบริการใหม่ๆ การเปิดหลักสูตรระดับหลังปริญญาที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้าน anti-aging และอื่นๆ การสร้างและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานด้านปัจฉิมวัย